1.รูปแบบที่ดีไวซ์ต่าง ๆ ต้องการข้อมูลที่แตกต่างกันทำให้ระบบใช้อินเทอร์เฟซทั้งด้านฮาร์ดแวร์และซอฟต์แวร์ต่างกัน
2.ความเร็วที่ต่างกันของดีไวซ์กับซีพียูทำให้การซิงโครไนซ์ยุ่งยาก โดยเฉพาะถ้ามีหลาย ๆ ดีไวซ์พยายามกระทำต่อไอโอพร้อม ๆ กัน ทำให้อาจจะต้องใช้บัฟเฟอร์
3.การเชื่อมต่อภายในที่สนับสนุนการให้บริการมัลติมีเดียจะต้องมีความสามารถในการส่งข้อมูลอย่างต่อเนื่อง รวมทั้งเครือข่ายและดีไวซ์ที่ติดต่อสื่อสารกันด้วยความเร็วสูง
4.ดีไวซ์จำพวกดิสก์ไดรฟ์มีการควบคุมด้วยกลไกทางอิเล็กทรอนิกส์ที่ต้องใช้เวลาซีพียูจำนวนมากในการควบคุม
การใช้อินเทอร์เฟซโมดูลในการเชื่อมต่อไอโอดีไวซ์โดยตรงกับซีพียู
1.ความแตกต่างสำหรับแต่ละไอโอดีไวซ์รวมกับความจำเป็นในการกำหนดแอ็ดเดรส, การซิงโครไนซ์, สถานะและความสามารถในการควบคุม ภายนอก ทำให้มีความจำเป็นที่จะต้องรองรับแต่ละดีไวซ์ด้วยอินเทอร์เฟซพิเศษโดยเฉพาะ
2.โดยปกติไอโอดีไวซ์จะเชื่อมต่อกับซีพียูผ่านทางไอโอโมดูล (I/O module)
3.ไอโอโมดูลต้องมีความสามารถในการถ่ายโอนข้อมูลเป็นบล็อกที่ใช้บัฟเฟอร์อย่างเหมาะสมและเป็นมาตรฐานในการอินเทอร์เฟซกับซีพียู และมีความสามารถในการควบคุมดีไวซ์พิเศษที่ถูกออกแบบขึ้นมาด้วย
4.ไอโอโมดูลที่ควบคุมดีไวซ์ประเภทเดียวจะเรียกว่า “ดีไวซ์คอนโทรลเลอร์”
5.ถ้ามีดีไวซ์มากขึ้น ต้องมีการกำหนดแอ็ดเดรสเพื่อแยกออกจากโมดูลอื่น
การใช้อินเทอร์เฟซโมดูลในการเชื่อมต่อไอโอดีไวซ์โดยตรงกับซีพียู การจัดเรียงไอโอโมดูลอย่างง่าย
การจัดเรียงไอโอโมดูลที่มีความสลับซับซ้อน
ปัจจัยการออกแบบไอโอ
การออกแบบระบบไอโอให้เหมาะสมจะทำให้ซีพียูทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ ทั้งการซิงโครไนซ์ดีไวซ์หลายดีไวซ์ การปรับเวลาดีไวซ์ที่มีอัตราการถ่าย โอนข้อมูลต่างกัน และการปรับเวลาให้ซีพียูทำงานโดยไม่เสียเวลารอในขณะ ที่ไอโอกำลังทำงาน เหล่านี้เป็นตัววัดประสิทธิภาพของคอมพิวเตอร์ สำหรับ ปัจจัยที่ควร
พิจารณาในการออกแบบระบบไอโอมี 3 ประการคือ
1.ตำแหน่งข้อมูล : การเลือกดีไวซ์, แอ็ดเดรสของข้อมูลในดีไวซ์
2.การถ่ายโอนข้อมูล : ปริมาณ, อัตราการถ่ายโอนทั้งในขณะเข้าหรืออก จากดีไวซ์
3.การซิงโครไนซ์ : ให้เอาต์พุตเฉพาะเมื่อดีไวซ์พร้อม, รับอินพุตเมื่อมีข้อมูล
สมัครสมาชิก:
ส่งความคิดเห็น (Atom)
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น